ความหมายของบทร้อยแก้ว
บทร้อยแก้ว
คือคำประพันธ์ที่ไม่จำกัดถ้อยคำและประโยค
ไม่มีกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์เป็นรูปแบบต่างๆ ตายตัว
การพิจารณาความหมายในคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และเนื้อหาของเรื่อง
ถ้ากวีมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ให้ความรู้ทั่วๆ ไป
จะมีการใช้ภาษาตรงไปตรงมา เรียบง่าย และชัดเจน
และหากกวีแต่งเรื่องที่มีเนื้อหาลุ่มลึก แสดงความลึกซึ้งแยบคาย เช่น
เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา หรือเรื่องที่เกิดจาก
จินตนาการ
วรรณกรรมร้อยแก้วชิ้นที่เลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมเนื้อความ แต่งได้กระชับรัดกุมสละสลวยสื่อความหมายได้ชัดเจนวางเหตุการณ์ในเรื่องได้แนบเนียนวรรณกรรมร้อยแก้วชิ้นนั้นจะมีความไพเราะงดงามและสะเทือนอารมณ์ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
ประเภทของบทร้อยแก้วมี 2 ประเภท
1. อ่านได้
2.
อ่านเป็น
เครื่องหมายเว้นวรรคในการอ่านบทร้อยแก้ว
/
หมายถึง เว้นระยะช่วงคราว
//
หมายถึง เว้นระยะนาน
_ หมายถึง เน้นเสียงหนัก
ตัวอย่างการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
ในที่สุด / เสียงทุกอย่างก็หมดไป / คงเหลือแต่เสียงลม / เสียงฝน /
และเสียงกระแสน้ำกระทบผ่านต้นอ้อ / ต้นแขม / และรากลำพูที่ริมตลิ่ง /
ธรรมชาติยังคงสำแดงอำนาจอันมหึมา // โดยปราศจากการรบกวนจากมนุษย์
เช้าวันต่อมา / พระอาทิตย์ / ทอแสงอันแจ่มใสเมื่อรุ่งอรุณ /
น้ำฝนติดอยู่ตามใบไม้ / กอหญ้า / ต้องแสงอาทิตย์เป็นประกาย / เมฆฝนที่ทะมึนอยู่เมื่อกลางคืน
/ คงเหลือในสภาพเหมือนปุยนุ่นเล็กๆ / ที่ถูกลมพัดปลิวไปติดขอบฟ้า / นกยางฝูงหนึ่ง
/ บินผ่านท้องน้ำ / ตรงคุ้งสำเภาไปอย่างเชื่องช้า / มุ่งหน้าไปหากันกลางทุ่ง /
ธรรมชาติลืมโทสะ / ที่บังเกิดเมื่อตอนกลางคืนนั้นแล้วสิ้น / และเรื่มวันใหม่ด้วยอาการอันแจ่มใส /
เหมือนกับเด็ก / ที่ยิ้มเบิกบานทั้งน้ำตา
(หลายชีวิต โดย
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ หน้า ๓)
แบบทดสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น